วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่องการสร้างชิ้นงานด้วย e-book ด้วยโปรแกรม Flip Album เวลา 2 ชั่วโมง
สอนสัปดาห์ที่ 5 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ภาคเรียนที่ 2
1. สาระสำคัญ
หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัวหนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing) รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความภาพและการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT) หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
2 .1 อธิบายความหมายของคำว่า E- book ได้
2 .2 อธิบายความหมายของแถบเครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม Flip Album ได้
2.3 นักเรียนสามารถออกแบบชิ้นงานตามหัวข้อที่ครูกำหนดได้ 1 ชิ้นงาน
3. สาระการเรียนรู้
3 .1 อธิบายสาระสำคัญเกี่ยวกับ ความหมายของ E- book และอธิบายการทำงานแถบเครื่องมือต่างๆใน โปรแกรม Flip Album
3 .2 แนะนำการใช้อุปกรณ์แถบเครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม Flip Album

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูผู้สอนสั่งให้นักเรียนทุกคนนั่งตัวตรงวางสมุดปากาไว้บนโต๊ะฟังครูอธิบายเกี่ยวกับ“อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) ว่ามีความเป็นมาอย่างไรกว่าจะมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันว่า
E –Book และครูผู้สอนก็แนะนำการสร้างชิ้นงาน E – book ด้วยโปรแกรม Flip Album และครูผู้สอนก็เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้สนทนากัน และสอบถามตามที่ไม่เข้าใจในส่วนต่าง ๆ
ขั้นสอน
1. ทดสอบก่อนเรียนโดยการถามตอบ
2. ครูผู้สอนอธิบายเกี่ยวกับความหมายความรู้ทั่วไปของโปรแกรม Flip Album
บรรยาย / พร้อมเปิดโปรแกรม Flip Album
3. ครูให้นักเรียนจับคู่ 1 คู่ต่อ 1 เครื่อง มีหัวข้อมาให้เลือก 5 หัวข้อ
- ลดภาวะโลกร้อน
- ยารักษาโรค
- แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย
- ผัก – ผลไม้ต้านโลกมะเร็ง
- เพศศึกษา
แล้วให้นักเรียนออกแบบตามหัวข้อที่นักเรียนเลือก ด้วยใช้โปรแกรม Flip Album
ในการออกแบบ ชิ้นงานตามที่นักเรียนเลือกหัวข้อ
4. ครูผู้สอนเปิดโปรแกรม Flip Album โดยครูอธิบายพร้อมกับคลิกรูปภาพประกอบคำบรรยาย เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์แถบเครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรม Flip Album
5. ครูผู้สอนออกแบบชิ้นงานเพื่อเป็นแบบอย่างแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามที่ล่ะขั้นตอน

ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานตามที่นักเรียนเลือกหัวข้อที่ครูกำหนดโดยใช้โปรแกรม
Flip Album ในการออกแบบชิ้นงาน โดยการ Save งานไว้ที่ไดร์ฟ D: ครูผู้สอนตรวจชิ้นงานหลังคาบเรียน
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. การใช้โปรแกรม Flip Album ในการนำเสนอ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. เอกสารประกอบการสอน / เครื่องฉายโปรเจ็กเตอร์
การวัดผลประเมินผล
1. การสังเกตพฤติกรรม
- ความสนใจ
2. ความสนใจในการเรียนรู้ การค้นคว้า การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
3. การทำงานเป็นกลุ่ม (ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นกลุ่ม )
4. ได้ชิ้นงานตามแบบที่ครูสั่ง
บันทึกผลหลังกระบวนการจัดการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน (เก่ง ดี มีสุข)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ปัญหา / อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ ……………………………….…ผู้สอน
นายศุภวัฒน์ ไชยโชติ

ความเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ฯ
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


ลงชื่อ................................................
(นายสุธารัตน์ จำปาทิพย์)
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ